เทคนิคการอ่านกราฟ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ เทรดเดอร์หลายคนมักมีปัญหาในการตีความกราฟที่ซับซ้อนจนเกินไป จนทำให้การเทรดนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย เทคนิคการการอ่าน Price action อย่างง่าย เพื่อให้เทรดเดอร์เข้าใจกราฟที่อ่านอย่างไม่สับสน ไม่ต้องไปใช้เวลาบนหน้าจอนาน เพื่อลดความตึงเครียด รวมทั้งลดการ Focus และเสพติดการเทรด ซึ่งจะนำไปสู่การเทรดที่มีประสิทธิภาพ ในระยะยาวมากกว่า การใส่เครื่องมือในการเทรดเข้าไปจำนวนมากแล้วดูวุ่นวายและไม่สามารถตัดสินใจได้สักที
#1 เทคนิคการอ่านกราฟ โดยใช้ Swings – Highs และ Lows
รูปแบบกราฟ Swing High และ Low เป็น Basic ของ Technical analysis คือการใช้ทฤษฎี Dows ในการวิเคราะห์แนวโน้มว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง
- ขาขึ้น : ราคาทำ Higher high (ยอดสูงขึ้น) และ Higher Low (ฐานสูงขึ้น)
- ขาลง : ราคาทำ Lower High (ยอดต่ำลง) และ Lower Low (ฐานต่ำลง)
ซึ่งจุด ยอด และ ฐาน สามารถพิจารณาได้จาก “รอบสวิง” ของราคา ตามธรรมชาติของราคาแล้วนั้น ราคาไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง มีการแกว่งตัวขึ้นลง อยู่ตลอดเวลา เทรดเดอร์สามารถอาศัยรอบการแกว่งตัวนี้สร้างข้อได้เปรียบในการเทรดได้เช่นกัน
ตัวอย่างของ นักเทรดประเภท Swing trader ก็จะซื้อในช่วงที่ราคาย่อตัวในแนวโน้มขาขึ้น หรือ ขายในช่วงราคาดีดตัวในแนวโน้มขาลง เพื่อที่จะได้ราคาที่ดีกว่า มีอัตราส่วนผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ดีกว่า เป็นต้น
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณาประกอบ คือการพิจารณา รอบสวิงนั้นยังสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาได้อีกมุมหนึ่งคือ ความลึกในการ Pullback ถ้าหากการ Pullback หรือย่อตัว นั้นไม่ลึก แสดงถึงแนวโน้มในช่วงนั้นยังคงแข็งแกร่ง แต่ถ้าหากการ Pullback นั้นลึก แสดงว่าแนวโน้มนั้นเริ่มอ่อนแอลง
ฟังดูหลักการเหล่านี้มันค่อนข้างง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเทรดในการใช้ Price action ในลักษณะนี้มันค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการใช้งานจริงและต้องใช้ประสบการณ์ในการพิจารณา เมื่อทำการฝึกบ่อยครั้งขึ้นก็จะทำให้การเทรดนั้นสามารถทำและตัดสินใจได้คล่องแคล่วขึ้น
จากตัวอย่างของกราฟด้านล่างแสดงถึงตัวอย่างการวิเคราะห์จำนวนรอบการสวิงของราคา จะเห็นได้ว่าช่วง Bear market หรือขาลง ราคาสร้างจุด Low ต่ำลงกว่าครั้งก่อน และ High ต่ำลงกว่าครั้งก่อน ซึ่งเราสามารถหาจังหวะ Short ในช่วงที่ราคา Pullback กลับขึ้นมาได้ และในช่วงที่เปลี่ยนแนวโน้มจากขาลงเป็นขาขึ้นนั้น ราคากลับมายกฐานสูงขึ้นกว่าเดิม และยอดสูงขึ้น (แสดงในเส้นสีแดง)
#2 แนวรับ แนวต้าน
แนวรับและแนวต้าน คือ จุดที่ราคามักจะเกิดการกลับตัวเกิดขึ้น เมื่อราคาเข้าสู่บริเวณแนวรับ แนวต้านดังกล่าว ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนมากทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นใช้เจ้าสิ่งนี้ในการเทรดทั้งสิ้น การวิเคราะห์โดยใช้แนวรับและแนวต้านเป็นสัญญาณที่มีความน่าเชื่อถือในการเทรด เพราะว่า แนวรับและแนวต้านนั้นเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาของการเทรดโดยตรง ดังนั้น การใช้แนวรับและแนวต้านในการเทรด จึงเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญ
จากกราฟด้านบนจะสังเกตุได้ว่าในช่วงที่ราคาทดสอบระดับแนวรับแนวต้าน (เส้นประ) มักจะเกิดการกลับตัวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำประโยชน์ตรงนี้ไปประกอบการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่อยากจะเสริมในการใช้แนวรับแนวต้านนั้น เราไม่ควรใช้เส้นแนวนอนแบบเส้นเดี่ยว เนื่องจากการเคลื่อนไหวจริงของราคานั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นระดับราคานั้น 100% การใช้แนวรับและแนวต้านนั้นควรใช้เป็นโซน หรือบริเวณมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวของราคานั้นไม่ได้เป็นเส้นตรง
เคล็ดลับการเทรด : เมื่อเราเห็นระดับแนวรับแนวต้านชัดเจนมากเท่าไหร่ มันแสดงว่าคนส่วนมากนั้นเห็นบริเวณนั้นมากเท่านั้น ซึ่งในการเทรดเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า คนส่วนมากมักจะผิดพลาด เพราะว่าในจังหวะที่ทุกคนมีมุมมองเหมือนกัน เทรดในระดับราคาที่เหมือนกัน จังหวะนั้นมักจะสร้างความผิดพลาดให้เทรดเดอร์อยู่เสมอ ดังวงกลมสีแดงจากกราฟด้านบน คนส่วนมากมักเห็นว่าราคาทะลุผ่านแนวต้านสำคัญได้แล้ว จึงเปิด Long ตาม และสุดท้ายการทะลุนั้นเป็น Bull trap (หรือทะลุหลอก) ซึ่งเทรดเดอร์ควรระมัดระวังในเรื่องนี้
#3 Trend lines
เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าการตีเส้น Trend lines นั้นค่อนข้างเป็นอะไรที่ หาแนวทางที่ชัดเจนในการอธิบาย หรืจับต้องไม่ได้(Subjective) มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการใช้งาน มากกว่าที่เราจะใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งมาจับอย่างตายตัว และออกจะคล้ายคลึงกับศิลปะ มากกว่า วิทยาศาสตร์ คือเวลาตีเส้นเทรนด์ไลน์มันไม่มีถูกผิด สิ่งสำคัญเทรดเดอร์ต้องรู้ว่าเราตีไปเพื่ออะไร มิฉะนั้นการตีโดยไร้ความหมาย การตีเส้นเทรนด์ไลน์ควรมีหลักการของตัวเอง จะว่าไป ผมก็ใช้หลักการง่าย ๆ เช่น การวาดรูป เราอยากจะลากและจินตนาการให้ไปทางไหนก็ไป ส่วนตัวผม ชอบคิดว่าราคาคือการไหลของแม่น้ำ และเส้นเทรนด์ไลน์คือ ร่องน้ำ (พอได้รึเปล่าครับ) นั่นแหละเรียกว่า ศาสตร์และศิลป์
เราไม่ควรใช้เส้น Trend lines เป็นจุด Trigger หรือจุด Buy sell ควรใช้เป็นตัวที่วิเคราะห์ภาพรวมมากกว่า ไว้ดูทิศทาง ไว้ดูแนวโน้ม ถ้าหากเราไปใช้เป็นจุด Buy sell แล้วนั้น จะเกิดข้อผิดพลาดเยอะมาก เทรดเดอร์ต้องระวังในจุดเช่นเดียวกันครับ
#4 เส้นค่าเฉลี่ย
เส้นค่าเฉลี่ย หรือ เส้น Moving Average เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ง่ายในการเทรด แต่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ สามารถทำหน้าที่หลายหน้าที่ทั้ง
- จุดเข้า จุดออก
- แนวรับ แนวต้าน
- ดูทิศทางแนวโน้ม
จากภาพด้านบน เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน (เส้นสีน้ำเงิน) เป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่เคลื่อนไหวเร็ว ซึ่งบอกเทรนด์ในระยะสั้นนั้นสามารถใช้เป็นจุดเข้า จุดออกของการเทรดได้ ส่วนเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (เส้นสีม่วง) ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่บอการเคลื่อนไหวระยะยาว สามารถใช้เป็นแนวรับในจังหวะที่ราคาย่อตัวลงมา (ลูกศรสีดำ) โดยการตัดดกันของเส้น 2 เส้น จะสามารถบอกทิศทางของการเทรดและสามารถใช้ดูทิศทางของแนวโน้มใหญ่ได้ด้วย ถ้าราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้น 200 วันที่เป็นเส้นระยะยาวนั้น หมายความว่าราคากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ในกรณีที่ราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้น 200 วันแสดงว่าราคาอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งแสดงจุดที่กากบาท (สีน้ำ) เป็นช่วงเปลี่ยนแนวโน้มของแนวโน้มใหญ่จากขาขึ้นสู่ขาลง เนื่องจากราคากลับลงมาเคลื่อนไหวใต้เส้นดังกล่าว
ทีมงาน: forexthai.in.th